ขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่าย (Celery)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aqium graveolens L. vat. Dulce Pers.
ตระกูล : UMBELLIFERAE
ชื่ออื่น : ผักปิ๋ม ผักข้าวปืน ผักปืน(เหนือ) ฮั่งชื่ง ขึ่งฉ่าย(แต้จิ๋ว) ฮั่นฉิน ฉันฉ้าย (จีนกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ ขึ้นฉ่าย (Celery)
ต้น เป็นไม้ล้มลุกจะมีอายุได้นานประมาณ 1-2 ปี และมีกลิ่นหอมทั้งต้น ส่วนลำต้นนั้นจะกลวง สูงประมาณ 30-50 ซม.ใบ เป็นใบรวม ประกอบด้วยใบย่อย 2-3 คู่ ขอบใบจะหยัก เป็นแฉกลึก แต่ละแฉกนั้น เป็นรูปสามเหลี่ยม หรือห้าเหลี่ยมดอก ออกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ตรงยอดดอกนั้นแผ่ เป็นรัศมี ดอกมีขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์ เพศผล มีลักษณะกลมรี ขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน มี กลิ่นหอม จะให้ผลเพียงครั้งเดียว
ขึ้นฉ่าย (Celery) มี 2 พันธุ์ พันธุ์หนึ่งเป็นขึ้นฉ่ายจีน (Chinese celery) มีขนาดลำตันเล็กสูง 30 ซม.ใบค่อนข้างแก่ อีกพันธุ์เป็นขึ้นฉ่ายฝรั่ง ต้นอวบใหญ่มาก ลำต้นสูงถึง 40 – 60 ซม. สีลำต้นค่อนข้างขาวเหลือง ใบสีเหลืองอมเขียว
- ควรนำเมล็ดแช่น้ำก่อนปลูก ถ้าเมล็ดลอยให้ทิ้งไปและนำเมล็ดที่จมน้ำมาเพาะ
- หว่านเมล็ดในแปลง โดยจัดแถวให้ระยะห่างกัน 15-20 เซนติเมตร กลบดินทับบาง ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร สำหรับขึ้นฉ่ายไม่ต้องกลบเมล็ด เพราะเมล็ดจะเล็กมาก หากเตรียมดินละเอียดเมล็ดจะแทรกตัวลงไปในระหว่างเม็ดดินได้เอง
- ผักบุ้งจะงอกใน 3 วัน ผักชีประมาณ 4-8 วัน และขึ้นฉ่ายประมาณ 4-7 วัน
- เมื่อกล้างอกมีใบจริง ถอนแยกและพรวนดินให้โปร่งเสมอจนเก็บเกี่ยว
- ผักบุ้งจีนเก็บเกี่ยวได้ภายใน 15-20 วัน ผักชี 45-60 วัน และขึ้นฉ่าย 60-70 วัน
- สำหรับผักชีและขึ้นฉ่าย ไม่ชอบแสงแดดจัด อาจปลูกในที่ ๆ มีร่มเงาได้ แต่สำหรับผักบุ้งจีน ต้องการแสงแดดตลอดวัน
การใช้ประโยชน์ ขึ้นฉ่าย (Celery) ใช้เป็นอาหาร ทั้งต้น รับประทานเป็นผักสด นำมาปรุงอาหาร เช่น ใส่ยำ ต้มจืด ผัด และทำน้ำสมุนไพร
คุณค่าทาง โภชนาการ ขึ้นฉ่าย (Celery) ใบขึ้นฉ่าย มีวิตามินซี มีสารเบต้า- แคโรทีน ใยมีน้ำมันหอมระเหย คือ สารโลโมนินซีลินิน และสารฟธาไลเดส
สรรพคุณทางยา ขึ้นฉ่าย (Celery) ทั้งต้น ลดความดันโลหิต รักษานิ่ว มีปัสสาวะเป็นเลือด และฝีฝักบัว เมล็ด ใช้ขับลมและเป็นยาระงับอาการปวด รากใช้รักษาอาการปวดตามข้อ เก๊าท์ ใช้เป็นยาบำรุงและขับปัสสาวะ
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย
ประโยชน์ของขึ้นฉ่ายนั้นมีมากมายดีจริง ๆ เลยค่ะ และไม่ใช่แค่ ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย เท่านั้นนะค่ะ แต่ สรรพคุณของขึ้นฉ่ายยังช่วยในเรื่องการลดความดันโลหิตสูงได้อีกด้วยค่ะ และวันนี้เราเองก็มีความรู้ในเรื่อง ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย และั สรรพคุณของขึ้นฉ่าย มาฝากให้กับทุกคนผู้รักและใส่ใจในสุขภาพ หรือใครที่ไม่คิดที่จะลองทานผักอย่างขึ้นฉ่ายเลยวันนี้คุณอาจจะเปลี่ยนใจได้ง่ายขึ้นก็ได้นะค่ะ เมื่อคุณได้รู้ถึง ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย และั สรรพคุณของขึ้นฉ่าย กันมากขึ้น ว่าแล้วไม่รอช้ามาดู ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย และั สรรพคุณของขึ้นฉ่าย กันเลยค่ะ
สรรพคุณ / ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่ายนั้นมีทั้งในยุโรปและเอเซีย ในยุโรปนั้นถือเป็นพืชพื้นเมืองของยุโรปตอนใต้ ชาวกรีกโบราณมีการทำไวน์ขึ้นฉ่ายเพื่อให้นักกีฬากินและใช้เป็นยาสมุนไพรมานานแล้วด้วย มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ ต้นสีขาว สีเขียว และน้ำตาลเขียว ต้นอวบใหญ่มาก สูงราว 40-60 ซม. ส่วนในเอเชียนั้นจะมีขนาดเล็กว่าคือสูงราว 30 ซม. ที่บ้านเรารับประทานกันอยู่นั้นเป็นพันธุ์จากเมืองจีน
สาร สำคัญในขึ้นฉ่ายที่ช่วยลดความดันโลหิต ลดปริมาณโคเลสเตอร์รอลและมีฤทธิ์เป็นยาระงับประสาทก็คือ 3-เอ็น-บิวทิล ฟทาไลด์ (3-n-butylphthalide)
นอกจากนี้ขึ้นฉ่ายยังอุดมไปด้วยธาตุโพแทสเซียมซึ่งช่วยปรับระดับคววามดันเลือดให้เป็นปกติ และมีสารจำพวกเกลือแร่ แคลเซียม และฟอสฟอรัสอยู่มาก จึงช่วยให้ให้กระดูกและฟันแข็งแรงและช่วยบำรุงครรภ์ด้วย
รวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ พีนอลิคอยู่มาก จึงสามารถนำมาใช้ชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ดีพอสมควร มีวิตามินซีสูงมากซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระ รักษาไข้หวัดและช่วยทำให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ทั้งยังมีสารเบตตาแคโรทีนช่วยต้านมะเร็งและหัวใจขาดเลือดอีกด้วย
และคุณสมบัติทางยาของขึ้นฉ่ายตามตำราจีนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ช่วยขับปัสสาวะ และน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายยังช่วยลดอาการบวมน้ำ เช่น อาการบวมน้ำก่อนมีประจำเดือน แก้โรคไขข้อ แก้อาการอักเสบและอาการปวดตามข้อ
ชาวเอเชียรู้จักใช้ขึ้นฉ่ายเป็ยาลดความดันมาเป็นพันปีแล้วค่ะ ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้รับประทานวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ ซึ่งมีข้อมูลว่าในปี ค.ศ. 1992 นายมินห์ เลย (Minh Le) ชาวเวียดนามบิดาของนักศึกษามหาวิทยาลัยแพทย์ชิคาโก ถูกวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และแพทย์ได้สั่งยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ แก้อาการเมาเหล้า แก้อาเจียน รับประทานมากทำให้เป็นหมันได้ ใบแก้โรคความดันโลหิตสูง แก้อาการตกเลือด แก้โรคลมพิษ เมล็ด ขับลม ขับประดู ขับปัสสาวะ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นยาบำรุงหัวใจ เป็นต้น
สอดคล้องกับการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบว่า ขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณในการลดความตัดโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง เนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว มีฤทธิ์กล่อมประสาท เป็นต้น
ส่วนสาเหตุที่นิยมนำขึ้นฉ่ายมาใช้ในการปรุงอาหาร เพื่อดับกลิ่นคาวปลาหรือเนื้อหรือเพิ่มความหอมของน้ำซุบ ก็เพราะว่าในขึ้นฉ่ายมีสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ ไลโมนีน (Limonene) ซีลินีน (Selinene) และ ฟทาไลด์ (Phthaildes) ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัวของขึ้นฉ่าย และช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร
เดี๋ยวนี้คนทั่วโลกหันมานิยมรับประทานอาหารขึ้นฉ่ายกันมากขึ้น มีทั้งรับประทานกันแบบสด ๆ หรือนำไปคั้นเป็นน้ำดื่มแบบสด ๆ หรือไปปรุงอาหารสารพัดรูปแบบ
ที่มา vegetweb.com
n3k.in.th